ยินดีต้อนรับ =^o^- สู่ Blogger แห่งความรู้จ้า
วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
ระวัง!! โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มันพรากคนที่ฉันรักมากที่สุดไปแล้ว
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
เยื่อ หุ้มสมองอักเสบ เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยจะมีการทำลายสมอง ทำให้สมองบวม ได้
สาเหตุ ของการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองมีได้หลายอย่าง ตั้งแต่เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอันตรายที่สุด เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือการอักเสบจากสารเคมีหรือสารพิษซึ่งพบได้น้อยมาก
เยื่อ หุ้มสมองอักเสบ เป็นการติดเชื้อที่เกิดขึ้นที่เยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง ที่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต โดยจะมีการทำลายสมอง ทำให้สมองบวม ได้
สาเหตุ ของการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมองมีได้หลายอย่าง ตั้งแต่เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอันตรายที่สุด เชื้อไวรัส เชื้อรา หรือการอักเสบจากสารเคมีหรือสารพิษซึ่งพบได้น้อยมาก
- เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากแบคทีเรีย
- ในอเมริกาพบได้ปีละประมาณ 3000-5000 คน
- อัตรา การเสียชีวิตประมาณ 20-25% แต่ถ้าเป็นแบบรุนแรงการดำเนินโรคเร็วภายใน 24 ชั่วโมง อัตราการเสียชีวิตสูงกว่า 50% ถึงแม้อยู่ในมือแพทย์ก็ตาม
- ผู้ที่ติดชื้อแบบรุนแรงมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 90 % ถ้าหากก็อาจจะมีความผิดปกติของการทำงานของสมองบางส่วน
- ความ รุนแรงของโรคจะน้อยกว่ามาก และคนไข้สามารถหายได้เองในเวลาประมาณ 7 -10 วัน ไม่จำเป็นต้องให้ยาแก้อักเสบ เพียงให้การดูแลทั่วไปตามอาการเท่านั้น
สาเหตุของการเกิดการติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ปกติ แล้ว สมองจะได้รับการป้องกันจากภายนอกและเลือด โดยเยื่อหุ้มสมอง แต่ก็มีข้อเสียคือ เมื่อมีการเข้าไปของแบคทีเรีย จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่อยู่ในเลือดไม่สามารถเข้าไปต่อสู้กับ เชื้อโรคได้ เมื่อมีการติดเชื้อ เส้นเลือดจะยอมให้ของเหลวและเม็ดเลือดขาวผ่านเข้าไปต่อสู้กับเชื้อโรคใน เยื่อหุ้มสมองและสมองได้ แต่ผลเสียที่ตามมาก้คือสมองบวมมากขึ้น
- เชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยที่ทำให้เกิดการติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองคือ Streptococcus pneumoniae. Neisseria meningitidis ซึ่งเชื้อชนิดหลังทำให้เกิดการระบาดได้ในภาวะที่อยู่กันหนาแน่น เช่นในหอพักนักศึกษา หรือในค่ายทหาร เชื้ออีกชนิดนึงที่พบบ่อยคือเชื้อ. Haemophilus influenzae type B (Hib) แต่เริ่มพบน้อยลงเพราะปัจจุบันมีการฉีดวัคซีนตัวนี้กันตั้งแต่เด็ก
- การ ติดเชื้อ อาจจะเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ ที่พบบ่อยก็คือเป็นผลมาจากการติดเชื้อที่พบได้ในทางเดินหายใจ คือจมูกและปาก เชื้อแบคทีเรียจะผ่านเข้าไปทางเส้นเลือดไปที่เยื่อหุ้มสมอง
- บางครั้งเกิดจากการแพร่กระจายจากการติดเชื้อในช่องหู หรือในไซนัส หรือจากการติดเชื้อที่มาจากผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดศีรษะ สมอง
- อายุเฉลี่ยของการติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองในผู้ใหญ่คือประมาณ 25 ปี
- อายุมากกว่า 60 ปี หรือในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
- ผู้ป่วยโรคตับแข็ง หรือติดสุราเรื้อรัง
- ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วย chemotherapy
- ผู้ป่วยที่ได้รับยาเพื่อกดภูมิคุ้มกันเช่น ผู้ป่วยเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ
- ผู้ป่วยเบาหวาน
- ผู้ที่ต้องดูแล สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- ผู้ที่พักอาศัยอยู่กันหนาแน่น เช่นหอพักนักศึกษา ค่ายทหาร
อาการของผู้ป่วยเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
ประมาณ 25% ของผู้ป่วยจะมีอาการขึ้นใน 24 ชั่วโมง ส่วนที่เหลือจะค่อย ๆ มีอาการขึ้นเรื่อย ๆ ใน 1-7 วัน
อาการที่พบได้บ่อย คืออาการ ไข้สูง ปวดหัว คอแข็ง คลื่นไส้ อาเจียน สู้แสงไม่ได้ กระสับกระส่าย ซึมลง และชัก
การวินิจฉัย
ผู้ป่วยที่อาจจะติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบ จะถูกแยกห้องเพื่อป้องกันการติดเชื้อไปยังคนอื่น รวมทั้งให้สวมหน้ากากป้องกัน
แพทย์จะทำการตรวจร่างกาย อาจจะพบความผิดปกติของระบบประสาท และลักษณะที่แสดงถึงการติดเชื้อเยื่อหุ้มสมอง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
จะมีการตรวจเลือด ตรวจเอ๊กซเรย์ปอด ตรวจ CT scan สมอง
สำหรับ การตรวจที่จะยืนยันว่าเป็นการติดเชื้อเยื่อหุ้มสมอง จะทำโดยการเจาะตรวจน้ำไขสันหลัง ดูเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ระดับน้ำตาล รวมทั้งส่งน้ำไขสันหลังไปเพาะเชื้อ
การรักษา
ถ้าเป็นการติดเชื้อจากเชื้อไวรัส จะเป็นเพียงการดูแล โดยใช้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด และยาตามอาการที่เป็น ไม่จำเป็นต้องให้ยาฆ่าเชื้อโรค
ถ้า เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล อาจจะต้องอยู่ ICU เพื่อติดตามความดันโลหิต และการหายใจอย่างใกล้ชิด การให้ยา จำเป็นต้องใช้ ยาฆ่าเชื้อโรค โดยให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ การพยาบาลอื่น ๆ เช่น การให้น้ำเกลือ ให้ยาลดไข้ ในรายที่เป็นรุนแรง จำเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ะ
การป้องกัน
ป้องกันการติดเชื้อเยื่อหุ้มสมองอักเสบด้วยการ
- ล้างมือบ่อย ๆ
- ทำความสะอาด จุดที่ต้องสัมผัสบ่อย ๆ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได เป็นต้น
- ปิดปากเวลาไอ
- ใช้ช้อนกลาง เลี่ยงการดื่มน้ำแก้วเดียวกัน
- ฉีดวัคซีนป้องกัน
ใน ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโรคนี้ อาจจะต้องให้ยาแก้อักเสบเพื่อป้องกันการติดเชื้อชนิดนี้ด้วย แต่ถึงว่าได้ยาป้องกันแล้ว ถ้าเกิดมีอาการผิดปกติ เช่นไข้ ปวดหัว ก็ต้องรีบพบแพทย์เช่นกัน
การฉีดวัคซีนป้องกัน
- วัคซีนที่มีในปัจจุบันจะเป็นวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อ Neisseria meningitides. โดยการให้วัคซีน Meningococcal โดยมักจะให้กับเด็กอายุ 11-12 ปี
- นักศึกษาที่พักรวมในหอพัก
- ค่ายทหาร
- ผู้ที่ตัดม้ามไปแล้วจากโรคต่าง ๆ หรืออุบัติเหตุ
- ผู้ที่เดินทางไปยังแหล่งที่พบเชื้อนี้ได้บ่อย
- วัคซีนอีกตัวที่แนะนำ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบ ที่เกิดจากเชื้อ Streptococcus pneumoniae. ซึ่งเป็นเชื้ออีกตัวที่สามารถทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้เช่นกัน โดยแนะนำให้ฉีดในผู้ที่อายุมากกว่า 65 ปี เป็นโรคปอดเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ตัดม้ามไปแล้ว
Dr. Carebear Samitivej
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)